โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองเปลือย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองเปลือย

ที่ตั้ง : หมู่ที่ 1 ตำบลเมืองเปลือย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด

บุคลากร

นางพิสมัย  จันทรสมัย
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองเปลือย


นางช่ออัจฉรา  จตุรโพธิ์
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ


นางสาวนิจลาวรรณ  เพ็ชรรินทร์
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ


นางนภาพร  กลางเอก
นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ


นางสาวปิยนุช  ไชยสิทธิ์
เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำนาญงาน


ข้อมูลทั่วไป

ประวัติโรงพยาบาลส่งสริมสุขภาพตำบลเมืองเปลือย
เมื่อปี พ.ศ. 2514 ท่านพระครูอดุลย์วิหารกิจ เจ้าคณะอำเภอเมืองร้อยเอ็ด ได้กลับมาเยี่ยมบ้านเกิดของท่าน คือ บ้านป่าเม้า ตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด และได้เปลี่ยนเป็นบ้านป่าเม้าใต้ ตำบลเมืองเปลือย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ดจนถึงปัจจุบัน ขณะท่านเดินทางกลับเพื่อจำวัดที่วัดสระแก้ว ในตัวจังหวัดร้อยเอ็ด มีหญิงเจ็บครรภ์จะคลอดขอโดยสารรถท่านไปด้วย เพื่อจะไปคลอดที่โรงพยาบาลในเมืองร้อยเอ็ด หญิงคนนั้นทนเจ็บไม่ไหวจึงได้คลอดระหว่างทาง ท่านและคณะที่ร่วมเดินทางไปด้วยกันไม่มีใครมีความรู้เกี่ยวกับการทำคลอดเลย จึงไม่สามารถช่วยเหลือหญิงคนนั้นได้มากนัก และปล่อยให้คลอดเองตามบุญตามกรรม ซึ่งเป็นที่น่าเวทนาเป็นยิ่งนัก เหตุเกิดในครั้งนั้น ทำให้ท่านพระครูอดุลย์วิหารกิจได้มีแนวคิดที่จะจัดสร้างสถานบริการสาธารณสุขขึ้น และเล็งเห็นความจำเป็นของประชาชน ที่จะต้องอาศัยสถานีอนามัยในการให้บริการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและการป้องกันโรค ดังนั้นพระครูอดุลย์วิหารกิจจึงปรึกษาเจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่ในจังหวัด โดยเฉพาะอนามัยจังหวัดซึ่งท่านมีความเห็นชอบด้วยแล้ว พระครูอดุลย์วิหารกิจจึงได้ประชุมชาวบ้าน และขอบริจาคที่ดินจากนายลุย จำรองเพ็ง ราษฎรบ้านเมืองเปลือยเพื่อสร้างสถานีอนามัยขึ้น นายลุยก็ได้สละที่ดินให้ตามความประสงค์ ประมาณ 2.3 ไร่ ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2514 แล้วเสร็จเมื่อปี 2516 ซึ่งในการดำเนินการก่อสร้างไม่ได้รับเงินงบประมาณจากทางราชการแต่อย่างใดโดยมากประชาชนเป็นผู้ร่วมบริจาค ส่วนหนึ่งได้เงินสมทบจากการทอดกฐินสามัคคีอนามัยจังหวัดร้อยเอ็ด และอีกส่วนหนึ่งได้จากการบริจาคโดยเงินค่าแรงของประชาชนในการก่อสร้างทำนบกั้นน้ำหนองผือ เป็นเงิน 10,000 บาท และเงินส่วนตัวของหลวงปู่อดุลย์วิหารกิจ รวมเงินก่อสร้างทั้งสิ้น 65,358 บาท หลังก่อสร้างแล้วเสร็จ ทางราชการได้ให้ชื่อว่า “สถานีอนามัยอดุลวิหารกิจ” เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2516 โดยมี นางสาวรำไพ จันโทภาส เป็นเจ้าหน้าที่ประจำสถานีอนามัยแห่งนี้เป็นคนแรก
ต่อมาในปีงบประมาณ 2538 สถานีอนามัยเมืองเปลือย (เดิมชื่อว่า สถานีอนามัยอดุลวิหารกิจ) ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างอาหารทดแทน มูลค่า 1,555,000 บาท ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี 2538 จนแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในวันที่ 29 มีนาคม 2539 เรื่อยมา จนได้ยกระดับเป็นศูนย์สุขภาพชุมชนในปี 2545 ถึงปัจจุบัน
ตำบลเมืองเปลือยแยกการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน จำนวน 655 หลังคาเรือน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 7,200 ไร่
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับเนินต่ำ รอบหมู่บ้านเป็นทุ่งนา ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะที่จะทำนา ทำไร่ และเลี้ยงสัตว์ ตำบลเมืองเปลือยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบล/อำเภอต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ อาณาเขตติดต่อกับ ตำบลหนองใหญ่ อำเภอศรีสมเด็จ
ทิศใต้ อาณาเขตติดต่อกับ ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอศรีสมเด็จ
ทิศตะวันออก อาณาเขตติดต่อกับ ตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง
ทิศตะวันตก อาณาเขตติดต่อกับ ตำบลสวนจิก และตำบลบ้านบาก อำเภอศรีสมเด็จ
การคมนาคม
ตำบลเมืองเปลือยมีถนนลาดยางเชื่อมติดต่อกันถึงตัวอำเภอศรีสมเด็จและตัวจังหวัดร้อยเอ็ด บางหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านดงเมือง บ้านไม้ล่าม บ้านเหล่าดอนไฮ และบ้านท่าแร่ มีถนนลูกรังเชื่อมติดต่อถึงกัน ใช้สัญจรในหมู่บ้านและเชื่อมระหว่างหมู่บ้านตำบลใกล้เคียง บางหมู่บ้านได้แก่ บ้านป่าเม้าเหนือ บ้านป่าเม้าใต้ และบ้านเมืองเปลือย มีถนนลาดยางเชื่อมติดต่อถึงกัน ใช้สัญจรในหมู่บ้านและเชื่อมระหว่างหมู่บ้านตำบลใกล้เคียงบางหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านป่าเม้าเหนือ บ้านป่าเม้าใต้ และบ้านเมืองเปลือย มีถนนคอนกรีตเสริมเหล็กใช้สัญจรในหมู่บ้าน
การเดินทางเข้าตัวอำเภอไม่มีรถโดยสารประจำทาง ต้องใช้รถส่วนตัวในการเดินทาง สำหรับนักเรียนที่เดินทางไปเรียนในตัวอำเภอหรือจังหวัดจะมีรถรับ-ส่ง หรือรับจ้างรายเดือน ค่าบริการประมาณ 200-300 บาทต่อคนต่อเดือน การเดินทางเข้าตัวจังหวัดโดยทั่วไปจะมีรถรับจ้างประจำตำบล 1 คัน เจ้าของอาศัยอยู่ที่บ้านท่าแร่ ให้บริการวันละ 1 เที่ยว โดยจะออกรถเวลา 07.00 น. และกลับเข้าตำบลเมืองเปลือยเวลาประมาณ 12.00 น. ผู้ที่มาไม่ทันรถรับจ้างประจำนี้จะต้องเหมารถรับจ้างในตัวจังหวัดร้อยเอ็ดกลับ หรือโทรศัพท์ให้ญาตินำรถส่วนตัวไปรับ
อาชีพ
ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก และมีอาชีพทำไร่ยาสูบเป็นอาชีพเสริม เนื่องจากเป็นอาชีพที่ทำควบคู่กันอย่างต่อเนื่อง และมีโรงงานรับซื้ออยู่ใกล้ ประชาชนบางส่วนยึดอาชีพรับจ้างและรับจ้างควบคู่ไปกับการทำนาเป็นอาชีพเสริมรายได้ มีทั้งการจ้างงานในพื้นที่ เช่น เป็นกรรมกรการของโรงงานยาสูบไทรงาม 1,2 ก่อสร้างบ้าน ทำถนนโครงการของ อบต. เลื่อยไม้และแปรรูปไม้ โรงงานทอผ้าบ้านเหล่าใหญ่ ตำบลโพธิ์ทอง เป็นต้น บางคนต้องเดินทางไปรับจ้างในเมืองหรือต่างจังหวัดโดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑล นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกลุ่มต่างๆขึ้นในชุมชน เพื่อสร้างอาชีพเสริมรายได้ เช่น กลุ่มสตรีแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน กองทุนพัฒนาชุมชน รัฐวิสาหกิจชุมชนในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น มีเงินทุนหมุนเวียนในชุมชนหลายโครงการ เช่น กองทุนเงินล้าน กลุ่มเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ กข.คจ. กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ กลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์ต่างๆ และเงินสนับสนุนโครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลโดย อบต. เป็นต้น รายได้ที่หามาได้นอกจากจะใช้จ่ายในครอบครัวแล้วยังต้องผ่อนชำระหนี้สินทั้งหนี้จากนายทุน หนี้สินจากกองทุน และหนี้ธนาคาร ซึ่งทำสัญญากู้ยืมหมุนเวียนทุกปี ส่วนอาชีพรับราชการและรัฐวิสาหกิจมีน้อยมาก สรุปแล้วประชาชนส่วนใหญ่จึงมีฐานะปานกลางค่อนข้างยากจน พออยู่พอกินใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายตามอัตภาพ




อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด

...
ศรีสมเด็จเมืองพระ แหล่งธรรมะหลวงปู่ศรี สตรีสาวใจโสภี รายได้ดียาเตอร์กีช ยอดมิตรค่ายทหาร แลตระการเจดีย์หิน

Whatsapp Button works on Mobile Device only